เราเคยนำเสนอเรื่องราวของสมุนไพรในอาหารไทยไปแล้ว วันนี้จึงอยากมาต่อยอดถึงเรื่องสมุนไพรในครัวแบบไทยๆกันบ้าง ประเทศไทยมีภูมิอากาศที่เหมาะกับการเพาะปลูก ทำให้มีพืชผักอุดมสมบูรณ์ทุกฤดูกาล บวกกับภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่รู้จักหยิบจับประโยชน์จากพืชพันธุ์ไกลตัวมาเป็นยา รักษาโรค รวมทั้งเป็นอาหารเลิศรส ซึ่งใช้สมุนไพรมาปรุง รสชาติและแต่งกลิ่นให้ซวนลิ้มลองด้วยเครื่องเทศจนส่งกลิ่นหอมขจรขจาย ไม่เพียงแต่คนไทยเท่านั้น แต่ยังหอมฟ้งไปถึง ต่างแดนจนใครต่อใครพากันหลงเสน่ห์อาหารไทยกันไปหมด อาหารไทยหลากหลายเมนูมีส่วนประกอบไปด้วยสมุนไพร และเครื่องเทศ ซึ่งแต่ละเมนูมักจะมีสมุนไพรหรือเครื่องเทศไม่น้อย กว่าหนึ่งชนิดเป็นส่วนผสมรวมอยู่ด้วยเสมอ และนั้นอาจเรียก ว่าเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้สมุนไพรและ เครื่องเทศแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกันที่รสชาติ กลิ่น และสีสัน ตลอดจนสรรพคุณที่จำแนกแยกย่อยกันออกไป
ความต่างระหว่าง สมุนไพรกับเครื่องเทศ
หลายคนสงสัยว่าสมุนไพรกับเครื่องเทศนั้นแตกต่างกัน อย่างไร บางคนคิดว่าสมุนไพรคือพืชสดที่นำมาปรุงอาหารและ ใช้ทำยาไทย ส่วนเครื่องเทศเป็นพืชที่ถูกทำให้แห้งก่อนนำมาปรุง
หอมกรุ่นเครื่องเทศ
ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ไดให้ ความหมายของคาว่า เครื่องเทศ ว่า “ของหอมฉุนและเผ็ดร้อนที่ได้ มาจากพืช โดยมากมาจากด่างประเทศ สำหรับใช้ทำยาไทยและ ปรุงอาหาร เข่น ลูกผักชี ยี่หร่า”ถิ่นกำเนิดเครื่องเทศอยู่ในเขตร้อนหรือกึ่งร้อน พบมาก ในป่าดงดิบ บางชนิดชอบขนตามบริเวณที่เป็นเกาะใกล้ทะเล เช่น อินเดีย ศรีลังกา รวมถึงประเทศไทยแถบจังหวัดจันทบุรี ตราด แต่ถ้าพูดถึงยุคที่เครื่องเทศเฟืองฟูที่สุดต้องย้อนไปเมื่อ 1,700 ปีก่อน เป็นยุคที่เครื่องเทศเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะยุโรป เพราะในยุคนั้นยังไม่มีเครื่องทำความเย็น เก็บรักษาอาหารสด การใช้เครื่องเทศหมักอาหารนับเป็นการ ถนอมอาหารที่ไต้ผล เพราะเครื่องเทศมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรียซึ่งเป็นตัวทำให้อาหารบูดเน่า อีกทั้งยังทำให้อาหารมี กลิ่นหอมชวนกินด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น