ประเทศไทยทำอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พืชผักที่นำมาประกอบอาหารก็ได้จากการ เพาะปลูก ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์เป็นพืชผักสมุนไพรที่ใช้ปรุงอาหารและมีประโยชน์ทางยาตามภูมิปัญญาของคนเฒ่าคนแก่มักให้ลูก หลานกินพืชกินผักมากๆ หรือนำปรุงเป็นอาหารให้กินกันเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆสมุนไพรในอาหารล้วนแต่มีประโยชน์คนเฒ่าคนแก่ถึงอยากให้ลูกหลานได้ทานกันเยอะๆอาหารไทยมีเครื่องเทศสมุนไพรต่างๆ ผสมกันอย่างลงตัว อาหารแต่ละชนิดจึงมีรสชาติเฉพาะตัวเฉพาะอย่าง เช่น มัสมั่นกับแกงเผ็ดจะต่างกันที่เครื่องเทศที่ใส่โดยมัสมั่น เน้นที่เครื่องเทศประเภทลูกผักชี ยี่หร่า ลูกกระวาน ส่วนแกงเผ็ดจะเน้นสมุนไพรจำพวก ข่า ตะไคร้ มะกรูด หอมแดง เป็นต้น อาหารบางชนิดใส่เครื่องเทศและสมุนไพรเพื่อดับ กลิ่นเนื้อสัตว์ที่มีกลิ่นแรงการกินพืชผักต่างๆ นอกจากจะช่วยให้เรามีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและยังเป็นสมุนไพร รักษาโรคต่างๆได้อีก สิ่งเหล่านี้เป็นเทคนิคทำให้อาหารไทยมีเสน่ห์มาตลอด
วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
สมุนไพรในอาหารไทย
ประเทศไทยทำอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พืชผักที่นำมาประกอบอาหารก็ได้จากการ เพาะปลูก ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์เป็นพืชผักสมุนไพรที่ใช้ปรุงอาหารและมีประโยชน์ทางยาตามภูมิปัญญาของคนเฒ่าคนแก่มักให้ลูก หลานกินพืชกินผักมากๆ หรือนำปรุงเป็นอาหารให้กินกันเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆสมุนไพรในอาหารล้วนแต่มีประโยชน์คนเฒ่าคนแก่ถึงอยากให้ลูกหลานได้ทานกันเยอะๆอาหารไทยมีเครื่องเทศสมุนไพรต่างๆ ผสมกันอย่างลงตัว อาหารแต่ละชนิดจึงมีรสชาติเฉพาะตัวเฉพาะอย่าง เช่น มัสมั่นกับแกงเผ็ดจะต่างกันที่เครื่องเทศที่ใส่โดยมัสมั่น เน้นที่เครื่องเทศประเภทลูกผักชี ยี่หร่า ลูกกระวาน ส่วนแกงเผ็ดจะเน้นสมุนไพรจำพวก ข่า ตะไคร้ มะกรูด หอมแดง เป็นต้น อาหารบางชนิดใส่เครื่องเทศและสมุนไพรเพื่อดับ กลิ่นเนื้อสัตว์ที่มีกลิ่นแรงการกินพืชผักต่างๆ นอกจากจะช่วยให้เรามีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและยังเป็นสมุนไพร รักษาโรคต่างๆได้อีก สิ่งเหล่านี้เป็นเทคนิคทำให้อาหารไทยมีเสน่ห์มาตลอด
เครื่องเทศสมุนไพรในครัวไทย
เราเคยนำเสนอเรื่องราวของสมุนไพรในอาหารไทยไปแล้ว วันนี้จึงอยากมาต่อยอดถึงเรื่องสมุนไพรในครัวแบบไทยๆกันบ้าง ประเทศไทยมีภูมิอากาศที่เหมาะกับการเพาะปลูก ทำให้มีพืชผักอุดมสมบูรณ์ทุกฤดูกาล บวกกับภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่รู้จักหยิบจับประโยชน์จากพืชพันธุ์ไกลตัวมาเป็นยา รักษาโรค รวมทั้งเป็นอาหารเลิศรส ซึ่งใช้สมุนไพรมาปรุง รสชาติและแต่งกลิ่นให้ซวนลิ้มลองด้วยเครื่องเทศจนส่งกลิ่นหอมขจรขจาย ไม่เพียงแต่คนไทยเท่านั้น แต่ยังหอมฟ้งไปถึง ต่างแดนจนใครต่อใครพากันหลงเสน่ห์อาหารไทยกันไปหมด อาหารไทยหลากหลายเมนูมีส่วนประกอบไปด้วยสมุนไพร และเครื่องเทศ ซึ่งแต่ละเมนูมักจะมีสมุนไพรหรือเครื่องเทศไม่น้อย กว่าหนึ่งชนิดเป็นส่วนผสมรวมอยู่ด้วยเสมอ และนั้นอาจเรียก ว่าเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้สมุนไพรและ เครื่องเทศแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกันที่รสชาติ กลิ่น และสีสัน ตลอดจนสรรพคุณที่จำแนกแยกย่อยกันออกไป
ความต่างระหว่าง สมุนไพรกับเครื่องเทศ
หลายคนสงสัยว่าสมุนไพรกับเครื่องเทศนั้นแตกต่างกัน อย่างไร บางคนคิดว่าสมุนไพรคือพืชสดที่นำมาปรุงอาหารและ ใช้ทำยาไทย ส่วนเครื่องเทศเป็นพืชที่ถูกทำให้แห้งก่อนนำมาปรุง
หอมกรุ่นเครื่องเทศ
ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ไดให้ ความหมายของคาว่า เครื่องเทศ ว่า “ของหอมฉุนและเผ็ดร้อนที่ได้ มาจากพืช โดยมากมาจากด่างประเทศ สำหรับใช้ทำยาไทยและ ปรุงอาหาร เข่น ลูกผักชี ยี่หร่า”ถิ่นกำเนิดเครื่องเทศอยู่ในเขตร้อนหรือกึ่งร้อน พบมาก ในป่าดงดิบ บางชนิดชอบขนตามบริเวณที่เป็นเกาะใกล้ทะเล เช่น อินเดีย ศรีลังกา รวมถึงประเทศไทยแถบจังหวัดจันทบุรี ตราด แต่ถ้าพูดถึงยุคที่เครื่องเทศเฟืองฟูที่สุดต้องย้อนไปเมื่อ 1,700 ปีก่อน เป็นยุคที่เครื่องเทศเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะยุโรป เพราะในยุคนั้นยังไม่มีเครื่องทำความเย็น เก็บรักษาอาหารสด การใช้เครื่องเทศหมักอาหารนับเป็นการ ถนอมอาหารที่ไต้ผล เพราะเครื่องเทศมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรียซึ่งเป็นตัวทำให้อาหารบูดเน่า อีกทั้งยังทำให้อาหารมี กลิ่นหอมชวนกินด้วย
วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
สรรพคุณสมุนไพรแบ่งตามกลุ่มอาการ
กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด
กระเจี๊ยบแดง
ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle
วงศ์ : Malvaceae
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้
สรรพคุณ : กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
* เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
* ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด
* น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง
* ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี
*น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง
* ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ
* เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ
* เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย
ใบ แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก
ดอก แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
ผล ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
เมล็ด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
สารเคมี ดอก พบ Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin คุณค่าด้านอาหาร: น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ
โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
สารเคมี ดอก พบ Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin คุณค่าด้านอาหาร: น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ
กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ
เตยหอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus amaryllifolius Roxb.
ชื่อสามัญ : Pandanus Palm , Fragrant Pandan , Pandom wangi.
วงศ์ : Pandanaceae
ชื่ออื่น : ปาแนะวองิง (มาเลเซีย-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ : ต้นและราก, ใบสด
ส่วนที่ใช้ : ต้นและราก, ใบสด
สรรพคุณ :
- ต้นและราก
- ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย - ใบสด
- ตำพอกโรคผิวหนัง
- รักษาโรคหืด
- น้ำใบเตย ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น
- ใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแต่งสีขนม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
- ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ต้มกับน้ำดื่ม - ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
ใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง - ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน ใช้ราก 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เข้าเย็น
สารเคมี : สารกลุ่ม anthocyanin
กลุ่มพืชถอนพิษ
รางจืด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thumbergia laurifolia Lindl.
วงศ์ : Acanthaceae
ชื่ออื่น : กำลังช้างเผือก ขอบชะนาง เครือเขาเขียว ยาเขียว (ภาคกลาง) คาย รางเย็น (ยะลา) จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ดุเหว่า (ปัตตานี) ทิดพุด (นครศรีธรรมราช) น้ำนอง (สระบุรี) ย่ำแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อย/ไม้เถา เนื้อแข็ง ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเว้า มีเส้น 3 เส้นออกจากโคนใบ ดอก มีสีม่วงอมฟ้า ออกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ ใบประดับสีเขียวประแดง กลีบเลี้ยงรูปจาน ดอกรูปแตรสั้น โคนกลีบดอกสีเหลืองอ่อน เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 4 อันผล เป็นฝักกลม ปลายเป็นจะงอย เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก
ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก และเถาสด
ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก และเถาสด
สรรพคุณ : รางจืดที่มีประสิทธิภาพ คือรางจืดชนิดเถาดอกม่วง
- รากและเถา - รับประทานแก้ร้อนใน กระหายน้ำ
- ใบและราก - ใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำลายพิษยาฆ่าแมลง พิษจากสตริกนินให้เป็นกลาง พิษจากดื่มเหล้ามากเกินไป หรือยาเบื่อชนิดต่างๆ เข้าสู่ร่างกายโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เช่น ติดอยู่ในฝักผลไม้ที่รับประทาน เมื่ออยู่ในสถานที่ห่างไกล การนำส่งแพทย์ต้องใช้เวลา อาจทำให้คนไข้ถึงแก่ชีวิตได้ ถ้ามีต้นรางจืดปลูกอยู่ในบ้าน ใช้ใบรางจืดไม่แก่ไม่อ่อนเกินไปนัก หรือรากที่มีอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป และมีขนาดเท่านิ้วชี้ มาใช้เป็นยาบรรเทาพิษเฉพาะหน้าก่อนนำส่งโรงพยาบาล (รากรางจืดจะมีตัวยามากกว่าใบ 4-7 เท่า) ดินที่ใช้ปลูก ถ้าผสมขี้เถ้าแกลบหรือผงถ่านป่น จะช่วยให้ต้นรางจืดมีตัวยามากขึ้น
วิธีใช้ :
- ใบสด สำหรับคน 10-12 ใบ
สำหรับวัวควาย 20-30 ใบ
นำใบสดมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าวครึ่งแก้ว คั้นเอาแต่น้ำดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ อาจให้ดื่มซ้ำได้อีกใน 1/2 - 1 ชั่วโมงต่อมา - รากสด
สำหรับคน 1-2 องคุลี
สำหรับวัวควาย 2-4 องคุลี
นำรากมาฝนหรือตำกับน้ำซาวข้าว แล้วดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ อาจใช้ซ้ำได้อีกใน 1/2 - 1 ชั่วโมง ต่อมา
คำเตือน : การใช้รางจืดสำหรับถอนพิษยาฆ่าแมลง ยาพิษและสตริกนินนั้น ต้องใช้ยาเร็วที่สุดเท่าที่จำทำได้ จึงจะได้ผลดี ถ้าพิษยาซึมเข้าสู่ร่างกายมากแล้ว หรือทิ้งไว้ข้ามคืน รางจืดจะได้ผลน้อยลง
กลุ่มพืชถอนพิษ
ว่านหางจระเข้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera (L.) Burm.f.
ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis Mill
ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis Mill
ชื่อสามัญ : Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados
วงศ์ : Asphodelaceae
ชื่ออื่น : หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบหนาสีเขียว มีจุดยาวสีเขียวอ่อน อวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร ผล เป็นผบแห้งรูปกระสวย
ส่วนที่ใช้ : วุ้นในใบสด ยางในใบ เหง้า
ส่วนที่ใช้ : วุ้นในใบสด ยางในใบ เหง้า
สรรพคุณ :
- วุ้นในใบสด
- บรรเทาอาการปวดศีรษะ
- รักษาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้
- ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน แผลเรื้อรัง - ยางในใบ - ทำยาดำ เป็นยาระบาย
- เหง้า - ต้มเอาน้ำรับประทาน แก้หนองใน
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
- บรรเทาอาการปวดศีรษะ
เลือกใบว่านหางจระเข้ที่อยู่ล่างสุด ใบสด 1 ใบ (เพราะมีตัวยามากกว่า) ฝานตามขวางใบ หนาประมาณ 1/4 ซม. ใช้ปูนแดงทาตรงเนื้อที่มีลักษณะคล้ายวุ้นสีขาวใสๆ แล้วเอาทางด้านปูนแดงปิดบนขมับ - รักษาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ถอนพิษ
ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างยางสีเหลืองออกให้หมด ขูดเอาวุ้นใสออกมาทาพอกบริเวณแผลที่ถูกไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวกให้ชุ่ม เปลี่ยนวุ้นทุกวันจนกว่าจะหาย ช่วยระงับความเจ็บปวดด้วยและป้องกันการติดเชื้อ ช่วยให้แผลหายเร็วและไม่เกิดแผลเป็น
** วุ้นว่านหางจระเข้ ยังใช้ทารักษาผิวไหม้ที่เกิดจากแดดเผาได้
ข้อควรระวัง : ก่อนใช้ว่านทดสอบดูว่าแพ้หรือไม่ โดยเอาวุ้นทาบริเวณท้องแขนด้านใน ถ้าผิวไม่คันหรือแดงก็ใช้ได้
วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
กลุ่มยาถ่ายพยาธิ
มะขาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarindus indica L.
ชื่อสามัญ : Tamarind
วงศ์ : Leguminosae - Caesalpinioideae
ชื่ออื่น : ขาม (ภาคใต้) ตะลูบ(ชาวบน-นครราชสีมา) ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) อำเปียล (เขมร-สุรินทร์) หมากแกง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ไม้ต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามปลายกิ่ง หนึ่งช่อมี 10-15 ดอก ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และหวาน
ส่วนที่ใช้ :
ส่วนที่ใช้ :
- เมล็ดในที่กะเทาะเปลือกออกแล้ว (ต้องคั่วก่อน จึงกะเทาะเปลือกออก)
- เนื้อหุ้มเมล็ด
สรรพคุณ :
- เมล็ด - สำหรับการถ่ายพยาธิตัวกลม พยาธิเส้นด้าย
- ใบ - ขับเสมหะ
- แก่น - ขับโลหิต
- เนื้อ - เป็นยาระบาย ขับเสมหะ แก้ไอ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
- ถ่ายพยาธิ
ใช้เมล็ดในที่มีสีขาว 20-25 เมล็ดต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานเนื้อทั้งหมด 1 ครั้ง หรือคั่วให้เนื้อในเหลือง กะเทาะเปลือก แช่น้ำให้นิ่ม เคี้ยวรับประทานเช่นถั่ว - แก้ท้องผูกใช้เนื้อหุ้มเมล็ดคลุกเกลือรับประทาน ระบายท้อง
- แก้ไอ, ขับเสมหะใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียก จิ้มเกลือรับประทาน
สารเคมี :
- เนื้อในหุ้มเปลือก มี tartaric acid 8-18% invert sugar 30-40%
- เมล็ด มี albuminold 14-20% carbohydrate 59-65% semi-drying fixed oil 3.9-20% mucilaginous materal 60%
- เนื้อในหุ้มเปลือก มี tartaric acid 8-18% invert sugar 30-40%
- เมล็ด มี albuminold 14-20% carbohydrate 59-65% semi-drying fixed oil 3.9-20% mucilaginous materal 60%
สปาสมุนไพรไทย
บางแห่งนิยมใช้สมุนไพรไทยแท้ๆ และผลไม้ อาทิ มะขามเปียก ตะไคร้ มะม่วง มะละกอ มาเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางขัดผิวหรือสครับกันเลยก็มี บางที่ก็นำสารสะกัดในผงโกโก้หรือช็อกโกแลตมาใช้เรียกชื่อเก๋ไก๋ไปเลยว่า "สปาช็อกโกแลต" เพราะเชื่อว่าโกโก้จะไปกระตุ้นให้สมองหลั่งเอ็นดอร์ฟิน สารเคมีแห่งความสุขออกมาช่วยให้อารมณ์ดี นอกจากนี้ ช็อกโกแลตยังมีแมกนีเซียมสูงช่วยคลายกล้ามเนื้อ มีวิตามินเอและวิตามินอีเสริมสร้างเซลล์ผิวและมีสรรพคุณชะลอความแก่ อีกทั้งยังกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในร่างกายให้ดียิ่งขึ้น วิธีการของสปาช็อกโกแลตก็คือการนำดาร์กช็อกโกแลตมาผสมกับผงซินนามอนและโคลนสำหรับพอกผิวแล้วทาให้ทั่วตัว ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงจึงล้างออก ส่วนใครที่ชอบรับประทานสตรอเบอรี่ เดี๋ยวนี้เขาก็มีทรีตเมนต์สตรอเบอรี่กันแล้วนะ โดยเชื่อว่านอกจาก สตรอเบอรี่จะช่วยระบบย่อยอาหารแล้วยังบรรเทาความเครียดได้และสามารถสมานผิวไหม้แดด ลดการเกิดสิวได้ดี ทรีตเมนต์นี้ก็ทำไม่ยากค่ะ เพียงแค่นำผลสตรอเบอรี่สด ข้าวโอ๊ต ข้าวหอมมะลิบด นมสด และน้ำผึ้งบริสุทธิ์ มาปั่นเข้าด้วยกัน ก็จะได้ทรีตเมนต์สครับเอาไว้ขัดผิวนุ่มๆ แล้ว เห็นไหมว่าวิธีการสร้างสรรค์ความสุขจากสปาด้วยตนเองนั้นสามารถประยุกต์ใช้สิ่งของรอบกายเราได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะพืชสมุนไพรและผลไม้เมืองร้อนที่หลากหลายในบ้านเราสามารถนำมาใช้ในเรื่องความงามได้อย่างแทบจะไม่มีข้อจำกัดเลย เพียงแต่เราต้องมีความรู้พื้นฐานเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับสรรพคุณพืชผักเหล่านั้นเสียก่อนจะได้ใช้ประโยชน์สมุนไพรได้สอดคล้องกับสรรพคุณเฉพาะตัวของมันจริงๆ เพราะบางทีการใช้ผิดก็อาจเกิดโทษได้
อันที่จริงเครื่องสำอางจากพืชสมุนไพรในบ้านเราเป็นที่รู้จักใช้กันอย่างแพร่หลายมาตั้งแต่โบราณและยังสืบต่อตำรับความงามเหล่านั้นจากรุ่นต่อรุ่นมากระทั่งปัจจุบัน เราใช้ทั้งผัก ผลไม้ สมุนไพร น้ำมัน และธัญพืชต่างๆ มาเป็นส่วนผสม ที่รู้กันทั่วไปก็คือ มะกรูด มะนาว ขมิ้น สับปะรด ชา ชะเอม มะเขือเทศ มะขาม พิมเสน น้ำมันงา น้ำมันละหุ่ง น้ำมันมะพร้าว ข้าวโอ๊ต น้ำผึ้ง และไขผึ้ง ฯลฯ
ปัจจุบันกิจการสปาในบ้านเรานิยมนำสมุนไพรสดมาทำเป็นสครับสมุนไพรเพื่อการขัดผิวมากที่สุด และมีแนวโน้มจะได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะสมุนไพร พืชผัก ผลไม้ของเราราคาถูก มีตามฤดูกาลให้ใช้ได้ตลอดปีหมุนเวียนกันไปไม่เบื่อ ทั้งยังถือว่าเป็นของแปลกใหม่สำหรับลูกค้านักท่องเที่ยวต่างชาติที่คุ้นเคยแต่เครื่องสำอางทั่วไปที่มีแต่สารประกอบทางเคมีแบบสมัยใหม่ เวลาเข้ามาใช้สปาในไทยถูกจับไปขัดผิวด้วยขมิ้น พอกตัวด้วยมะละกอสุกเข้าก็หลงใหลไปตามๆ กัน ใครอยากลองทำก็เชิญเลยค่ะ ง้ายง่าย ขอให้รู้หลักในการทำสครับพื้นฐานเท่านั้น ส่วนสูตรผสมต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ได้เองเต็มที่การขัดผิวที่นิยมทำกันนั้น บางคนก็เรียกทับศัพท์จนติดปากว่า "สครับ" ซึ่งหมายถึงการขัดตัวเพื่อขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกไปพร้อมกับกระตุ้นระบบหมุนเวียนโลหิตและน้ำเหลืองให้ดีขึ้น โดยมีอุปกรณ์สำคัญคือครีมขัดผิว ซึ่งสามารถหาซื้อได้จากเคาน์เตอร์เครื่องสำอางทั่วไป แต่ถ้าเป็นเครื่องสำอางสมุนไพรธรรมชาติแบรนด์ดังๆ ล่ะก็ ขอบอกว่าราคาแพงหูฉี่เลยค่ะ บางยี่ห้อกระปุกแค่กำปั้น ฟันเงินเราไปเป็นพันก็มี อย่ากระนั้นเลยมาทำกันเองที่บ้านดีกว่าสิ่งที่เราจำเป็นจะต้องรู้เกี่ยวกับสครับก็คือองค์ประกอบของครีมขัดผิวตัวนี้มีอะไรที่สำคัญบ้าง อันดับแรกก็คือเราต้องรู้จักสมุนไพรหรือผลไม้ที่นำมาใช้ว่ามีสรรพคุณเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการหรือไม่ ของบางอย่างแม้สรรพคุณจะคล้ายกันแต่ก็มีความเหมาะสมเฉพาะเจาะจงกับลักษณะผิวบางประเภทเท่านั้น เช่น มะขามเปียกกับสับปะรด มีเส้นใยช่วยขจัดขี้ไคลได้ดีและมีความเป็นกรดช่วยทำความสะอาดผิวให้ขาวใส แถมยังมีวิตามินซีสูง แต่ก็ไม่เหมาะกับคนผิวแห้งมากเพราะความเป็นกรดสูงจะยิ่งทำให้ผิวแห้งมากขึ้น ก็ต้องระมัดระวังในจุดนี้ แต่ถ้าใช้ส้มเช้งแทนก็จะได้สครับที่มีคุณสมบัติคล้ายมะขามเปียกและสับปะรดแต่ไม่เป็นกรดจึงเหมาะกับผิวแห้งมากกว่า ขณะที่มะขามเปียกและสับปะรดนั้นเหมาะกับผิวค่อนข้างมัน เป็นต้นนอกจากคุณสมบัติที่เหมาะสมของพืชผักสมุนไพรแล้ว สครับจะต้องมีผิวสัมผัสที่ให้ความหยาบเล็กน้อย (bead) แต่ไม่ควรหยาบถึงขั้นทำให้ผิวระคายเคืองได้ เพราะความหยาบนี้เองที่จะไปช่วยขัดเอาขี้ไคลและเซลล์ผิวที่ตายแล้วให้หลุดร่วงออกมาได้ง่ายขึ้นระหว่างที่ขัดจำเป็นจะต้องมีน้ำมันคอยช่วยหล่อลื่นให้การขัดนุ่มนวลลื่นไหลได้ดี และตัวน้ำมันยังจะช่วยถนอมผิวให้มีความชุ่มชื้นนุ่มนวลตลอดเวลาในระหว่างการขัดเซลล์ผิวหนังที่ตายทิ้งไป
สรุปแล้วสครับต้องประกอบด้วย 3 อย่างด้วยกัน คือวิตามินจากสมุนไพร (base) วัสดุเพิ่มความหยาบในเนื้อครีมที่เรียกว่า bead (บีด) ในภาษาทางสปา และน้ำมันหล่อลื่นในการขัดผิว (oil) ที่มีกลิ่นหอมในตัว
สำหรับ bead ที่นิยมใช้เพิ่มความสากในสครับนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรแนะนำให้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มีใช้อยู่ในครัวเรือนของเราเองเพราะมีโอกาสแพ้น้อยที่สุด เช่น เกลือ ข้าวสาร น้ำตาลทราย งา กาแฟบดละเอียด เป็นต้น แต่ของพวกนี้ก็มีเหลี่ยม มีคม หากใช้ผสมไปเลยอาจระคายเคืองผิวได้จึงต้องนำมาบดให้ละเอียดเสียก่อนส่วนน้ำมันช่วยหล่อลื่นจุดประสงค์สำคัญใช้เพื่อลดแรงเสียดทานนั้น สามารถเลือกใช้ได้หลายชนิด เช่น น้ำมันงา น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดอัลมอนด์ น้ำมันเมล็ดองุ่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันหล่อลื่น นี้ยังจะเป็นตัวช่วยลดความเข้มข้นของกรดสำหรับคนผิวแห้งได้ดี รวมทั้งช่วยเคลือบผิวไม่ให้มีการสูญเสียน้ำมากเกินไป ในส่วนของน้ำมันหล่อลื่นนี้ นอกจากน้ำมันดังกล่าวแล้วยังนิยมใช้น้ำมันหอมระเหยที่มีสรรพคุณทางด้านสุคนธบำบัดมาผสมให้เกิดคุณลักษณะของกลิ่นเฉพาะตัวสครับด้วย แต่สำหรับสครับสดคนปรุงสูตรมักให้ความสำคัญกับกลิ่นสมุนไพรสดๆ ที่จะแสดงตัวตนออกมาอย่างเต็มที่ เช่น กลิ่นตะไคร้สดๆ หรือมะกรูดสดๆ เป็นต้น เมื่อรู้หลักแล้ววิธีการทำก็คือ เราต้องเอาส่วนประกอบ 3 ตัวนี้ มารวมเข้าด้วยกันด้วยการบดหรือปั่นให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียว แต่ถ้าสามารถหาสมุนไพรหรือผลไม้ที่มีสรรพคุณครบถ้วนทั้งสามประการในตัวเองของการเป็นสครับได้ เราก็สามารถใช้สมุนไพรตัวนั้นเดี่ยวๆ โดยไม่ต้องไปผสมกับอะไรเลย เช่น ใช้มะขามเปียกขัดผิว เป็นต้น มะขามเปียกนั้นนอกจากจะมีความสากในตัวเองจากเส้นใยของมันแล้วยังมีความลื่น ขัดแล้วไม่เจ็บปวดระคายเคือง ถือว่าเป็นสมุนไพรที่มีครบองค์ประกอบของสครับ ใช้ได้เลยค่ะ เพียงแค่ผสมน้ำให้นุ่มแล้วสครับตัวตามจุดต่างๆ ที่ต้องการ ความสดชื่นนุ่มนวลของผิวพรรณก็จะเกิดขึ้นทันที หรือแทนที่จะทำครีมสครับเต็มรูปแบบก็ลดขั้นตอนลงใช้ ใยบวบ เป็น bead ในการขัดร่วมกับ base ผลไม้สดเนื้อนิ่มๆ นุ่มนวลอย่างมะละกอสุกหรือมะม่วง ซึ่งอันนี้ก็ไม่จำเป็นต้องผสมน้ำมันหล่อลื่นเช่นกัน เว้นแต่นึกสนุกอยากได้กลิ่นหอมอื่นๆ ผสมผสานเข้ามาก็อาจเหยาะน้ำมันหอมระเหยกลิ่นที่ชอบเติมเข้าไป แต่ถ้านึกสนุกจะสร้างสรรค์ตำรับสครับสมุนไพรสดของตัวเองขึ้นมา ให้ทดลองทำง่ายๆ ดังนี้ค่ะ เริ่มแรกให้เลือกสรรสมุนไพรที่เหมาะกับลักษณะผิวของคุณเองมาเป็น base ซึ่งอาจเป็นสมุนไพรเดี่ยวหรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ เป็นต้นว่า ถ้าทำสครับหน้าอาจเลือกใช้มะเขือเทศร่วมกับมะละกอ กล้วยหอม ผสมกับน้ำผึ้ง ตามด้วย bead จากข้าวสารบด oil จากน้ำมันที่ให้กลิ่นที่ชื่นชอบปั่นรวมกัน สูตรนี้เหมาะกับผิวผสม ดูจากสรรพคุณแล้วหน้าจะเด้งไร้รอยเหี่ยวย่นเลยแหละ สำหรับสูตรสครับเพื่อขัดตัวมีคนแนะนำสูตรง่ายๆ สำหรับผิวแห้งว่าควรใช้งาดำกับน้ำผึ้ง และงาขาวกับน้ำนมข้าว ส่วนผิวมัน ควรใช้ตะไคร้ เมล็ดกาแฟกับผงซินนามอน และชาเขียว ผิวผสมให้ใช้ชาผลไม้และสมุนไพรรวม ทั้งนี้สมุนไพรแต่ละตัวนั้นจะให้ผลที่แตกต่างกัน เช่น ตะไคร้ช่วยขจัดเชื้อราที่อยู่ตามผิวได้และยังมีกลิ่นเพิ่มความสดชื่นไปด้วย ขณะที่ชาและกาแฟทุกประเภทนั้นมีคุณสมบัติช่วยในการดีท็อกซ์ผิว งาขาวช่วยขจัดเซลล์ผิวเก่าทิ้งไปและช่วยกระตุ้นให้เกิดเซลล์ใหม่ขึ้นมาแทนที่ บางคนอาจนึกสนุกเพิ่มนมโยเกิร์ต หรืออื่นๆ ที่ช่วยบำรุงผิวเข้าไปด้วย แต่ต้องคอยสังเกตไม่ให้ สครับข้นหรือเหลวเกินไปนะคะ ลักษณะของสครับที่ดีควรมีความหนืดเล็กน้อย จับตัวอยู่บนผิวได้ดี และสะดวกแก่การขัดถู การสครับผิวนิยมทำอย่างน้อยเดือนละครั้งตามรอบการผลัดเซลล์ผิวหนังโดยเฉลี่ยของร่างกายซึ่งมีขึ้นทุก 28 วัน แต่ถ้าคุณไปใช้บริการสปาจนติด ทางสปามักจะแนะนำให้ขัดผิวเดือนละ 2 ครั้ง และถ้าจะทำกันที่บ้านก็ควรเริ่มด้วยการอาบน้ำอุ่นเพื่อเปิดรูขุมขนก่อน จากนั้นนำส่วนผสมมาขัดผิวด้วยการวนเป็นวงกลม เริ่มจากซีกซ้ายของร่างกายตั้งแต่ส่วนล่างสู่ส่วนบนแล้วไล่จากร่างกายส่วนบนซีกขวาลงไปด้านล่าง ซึ่งเป็นการขัดผิวไล่ไปตามเส้นทางการไหลเวียนของโลหิต ช่วยขจัดสารพิษไปในตัวด้วย ขัดเสร็จแล้วพักไว้สัก 10 นาที จึงค่อยล้างตัวด้วยน้ำอุ่นๆ แล้วอาบน้ำเย็นเป็นน้ำสุดท้ายเพื่อปิดรูขุมขนและช่วยให้ผิวกระชับขึ้น
สมุนไพรผักผลไม้สดมาใช้เสริมความงามแบบประหยัด
วงการสมุนไพรไทยได้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณพืชผัก ผลไม้ สมุนไพรเหล่านี้ออกไปอย่างกว้างขวาง แต่คนที่ไม่ได้สนใจรายละเอียดอาจจะยังไม่ทราบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของการนำเอาผักผลไม้สดมาใช้เสริมความงามแบบประหยัดที่ชวนสนุกไม่น้อยเลยทีเดียว ลองดูสรรพคุณของพืชผักเหล่านี้
มะกรูด ผลของมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหย น้ำมะกรูดมีรสเปรี้ยวช่วยให้ผมสะอาดเป็นเงางาม ทำให้ผมนิ่ม แก้คันศีรษะ ป้องกันการเกิดรังแค
มะนาว มีสรรพคุณเป็นกรด ช่วยให้ผิวส่วนที่หยาบกร้าน เช่น ข้อศอก ส้นเท้า นุ่มขึ้น
มะเขือเทศ มีสรรพคุณช่วยทำความสะอาดผิวหน้าและป้องกันรูขุมขนอุดตัน รักษาสิว
มะละกอ วิตามินสูง เนื้อละเอียดมากใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางสมุนไพรได้ดี
มะพร้าวขูด มีน้ำมัน กลิ่นหอม ช่วยบำรุงผิว
แตงกวา มีสรรพคุณช่วยให้ผิวสดชื่น
กล้วยหอม มีสรรพคุณบำรุงผิว ให้ความชุ่มชื้นและลดรอยเหี่ยวย่นของผิว
ขมิ้นชัน มีสรรพคุณในการทำความสะอาดผิวหน้าและรักษาสิวที่เกิดจากการติดเชื้อ
ว่านหางจระเข้ สรรพคุณของวุ้นในใบว่านหางจระเข้แก่มีสารช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง แผลในกระเพาะอาหาร และต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
ดอกอัญชัน สรรพคุณของดอกสดที่ตำให้ละเอียดจะช่วยให้ผมดกดำเป็นเงางาม
น้ำมันมะกอก มีสรรพคุณช่วยให้ผมดกดำเป็นเงางามป้องกันผมแห้งกรอบ นิยมใช้เป็นส่วนประกอบในการเตรียมเครื่องสำอางต่างๆ ถ้าใช้น้ำมันมะกอกนวดผมเป็นประจำจะช่วยให้ผมดำไม่หงอกเร็ว
มะขามเปียก สับปะรด มีเส้นใยช่วยขจัดขี้ไคล มีความเป็นกรดช่วยทำความสะอาดผิว ทำให้ผิวขาวใส มีวิตามินซีซึ่งเป็นแอนติออกซิแดนต์สูง
ส้มเช้ง ช่วยขัดผิวได้ดี แต่ไม่เป็นกรดเท่ากับมะขามและสับปะรด
ใยบวบ มีความสาก ขัดผิวได้ดี
น้ำตาลทราย มีทั้งความสากและความหนืดอยู่ในตัว สามารถใช้เป็นส่วนประกอบของครีมขัดผิวข้าวสาร ช่วยให้ผิวขาว
น้ำมันงา มีสรรพคุณช่วยลดความระคายเคือง
กาแฟ สามารถกระตุ้นให้ร่างกายขับสารพิษได้ดี
เกลือ มีฤทธิ์ช่วยสมานผิว
นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยของพืชผักสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางด้านเครื่องสำอาง ยังมีผักและผลไม้อีกมากที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทำเป็นเครื่องสำอางสดๆ จำพวกครีมขัดผิว ครีมพอกตัว พอกหน้าในสปาได้โดยไม่มีข้อจำกัดในการสร้างสรรค์สูตร สามารถลองผิดลองถูกออกแบบส่วนผสมที่เหมาะเจาะทำตำรับเฉพาะของตัวเองได้เลยจากการผสมผสานส่วนประกอบเหล่านั้นให้มีคุณสมบัติตามวัตถุประสงค์ของการใช้ว่าต้องการจะใช้กับส่วนไหนของร่างกายตั้งแต่ศีรษะ ใบหน้า ลำตัว และเท้า
มะกรูด ผลของมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหย น้ำมะกรูดมีรสเปรี้ยวช่วยให้ผมสะอาดเป็นเงางาม ทำให้ผมนิ่ม แก้คันศีรษะ ป้องกันการเกิดรังแค
มะนาว มีสรรพคุณเป็นกรด ช่วยให้ผิวส่วนที่หยาบกร้าน เช่น ข้อศอก ส้นเท้า นุ่มขึ้น
มะเขือเทศ มีสรรพคุณช่วยทำความสะอาดผิวหน้าและป้องกันรูขุมขนอุดตัน รักษาสิว
มะละกอ วิตามินสูง เนื้อละเอียดมากใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางสมุนไพรได้ดี
มะพร้าวขูด มีน้ำมัน กลิ่นหอม ช่วยบำรุงผิว
แตงกวา มีสรรพคุณช่วยให้ผิวสดชื่น
กล้วยหอม มีสรรพคุณบำรุงผิว ให้ความชุ่มชื้นและลดรอยเหี่ยวย่นของผิว
ขมิ้นชัน มีสรรพคุณในการทำความสะอาดผิวหน้าและรักษาสิวที่เกิดจากการติดเชื้อ
ว่านหางจระเข้ สรรพคุณของวุ้นในใบว่านหางจระเข้แก่มีสารช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง แผลในกระเพาะอาหาร และต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
ดอกอัญชัน สรรพคุณของดอกสดที่ตำให้ละเอียดจะช่วยให้ผมดกดำเป็นเงางาม
น้ำมันมะกอก มีสรรพคุณช่วยให้ผมดกดำเป็นเงางามป้องกันผมแห้งกรอบ นิยมใช้เป็นส่วนประกอบในการเตรียมเครื่องสำอางต่างๆ ถ้าใช้น้ำมันมะกอกนวดผมเป็นประจำจะช่วยให้ผมดำไม่หงอกเร็ว
มะขามเปียก สับปะรด มีเส้นใยช่วยขจัดขี้ไคล มีความเป็นกรดช่วยทำความสะอาดผิว ทำให้ผิวขาวใส มีวิตามินซีซึ่งเป็นแอนติออกซิแดนต์สูง
ส้มเช้ง ช่วยขัดผิวได้ดี แต่ไม่เป็นกรดเท่ากับมะขามและสับปะรด
ใยบวบ มีความสาก ขัดผิวได้ดี
น้ำตาลทราย มีทั้งความสากและความหนืดอยู่ในตัว สามารถใช้เป็นส่วนประกอบของครีมขัดผิวข้าวสาร ช่วยให้ผิวขาว
น้ำมันงา มีสรรพคุณช่วยลดความระคายเคือง
กาแฟ สามารถกระตุ้นให้ร่างกายขับสารพิษได้ดี
เกลือ มีฤทธิ์ช่วยสมานผิว
นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยของพืชผักสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางด้านเครื่องสำอาง ยังมีผักและผลไม้อีกมากที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทำเป็นเครื่องสำอางสดๆ จำพวกครีมขัดผิว ครีมพอกตัว พอกหน้าในสปาได้โดยไม่มีข้อจำกัดในการสร้างสรรค์สูตร สามารถลองผิดลองถูกออกแบบส่วนผสมที่เหมาะเจาะทำตำรับเฉพาะของตัวเองได้เลยจากการผสมผสานส่วนประกอบเหล่านั้นให้มีคุณสมบัติตามวัตถุประสงค์ของการใช้ว่าต้องการจะใช้กับส่วนไหนของร่างกายตั้งแต่ศีรษะ ใบหน้า ลำตัว และเท้า
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)