หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติของการใช้สมุนไพรไทย


            สมุนไพร คือ ของขวัญที่ธรรมชาติมอบให้กับมวลมนุษยชาติ มนุษย์เรารู้จักใช้สมุนไพรในด้านการบำบัดรักษาโรค นับแต่ยุคนีแอนเดอร์ทัลในประเทศอิรัก ปัจจุบันที่หลุมฝังศพพบว่ามีการใช้สมุนไพรหลายพันปีมาแล้วที่ชาวอินเดียแดงในเม็กซิโก ใช้ต้นตะบองเพชร(Peyate) เป็นยาฆ่าเชื้อและรักษาบาดแผล ปัจจุบันพบว่า ตะบองเพชรมีฤทธิ์กล่อมประสาทประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ที่ชาวสุเมเรียนได้เข้ามาตั้ งรกราก ณ บริเวณแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสปัจจุบัน คือ ประเทศอิรัก ใช้สมุนไพร เช่น ฝิ่น ชะเอม  ไทม์ และมัสตาร์ด และต่อมาชาวบาบิโลเนียน ใช้สมุนไพรเพิ่มเติมจากชาวสุเมเรียน ได้แก่ใบมะขามแขก หญ้าฝรั่น ลูกผักชี อบเชย และกระเทียมในยุคต่อมาอียิปต์โบราณมี อิมโฮเทป แพทย์ผู้มีชื่อเสียงซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่งการรักษาโรค ของอียิปต์ มีตำราสมุนไพรที่เก่าแก่ คือ Papytus Ebers ซึ่งเขียนเมื่อ 1,600 ปี ก่อนคริสตศักราช ซึ่งค้นพบโดยนักอียิปต์วิทยาชาวเยอรมันนี ชื่อ Georg Ebers ในตำรานี้ได้กล่าวถึงตำราสมุนไพรมากกว่า 800 ตำรับ และสมุนไพรมากกว่า 700 ชนิด เช่น ว่านหางจระเข้ เวอร์มวูด(warmwood) เปปเปอร์มินต์ เฮนเบน(henbane) มดยอบ, hemp dagbane ละหุ่ง mandrake เป็นต้น รูปแบบในการเตรียมยาในสมัยนั้น ได้แก่ การต้ม การชง ทำเป็นผง กลั่นเป็นเม็ด ทำเป็นยาพอก เป็นขี้ผึ้งนอกจากนี้ยังพบว่าชาติต่างๆ ในแถบยุโรปและแอฟริกา มีหลักฐานการใช้สมุนไพร ตามลำดับก่อนหลังของการเริ่มใช้สมุนไพร คือ หลังจากสมุนไพรได้เจริญรุ่งเรืองในอียิปต์แล้ว ก็ได้มีการสืบทอดกันมา เช่น กรีก โรมัน อาหรับ อิรัก เยอรมัน โปรตุเกส สวีเดน และโปแลนด์ส่วนในแถบ   เอเซีย ตามบันทึกประวัติศาสตร์พบว่ามีการใช้สมุนไพรที่อินเดียก่อน แล้วสืบทอดมาที่จีน มะละกา  และประเทศไทย


วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

การปลูกและการดูแลรักษาพืชสมุนไพรไทย

หลักการทั่วไปของการปลูกและการดูแลรักษาพืชทั่วไปและพืชสมุนไพรไม่แตกต่างกันแต่ ความอุดมสมบูรณ์ของพืชสมุนไพรจะเป็นเครื่องชี้บอกคุณภาพของสมุนไพรได้ พืชสมุนไพรต้องการการปลูก และการดูแลรักษาใกล้เคียงกับลักษณะธรรมชาติของพืชสมุนไพรนั้นมากที่สุด เช่นว่านหางจระเข้ ต้องการดินปนทราย และอุดมสมบูรณ์ แดดพอเหมาะ หรือ ต้นเหงือกปลาหมอ ชอบขึ้นในที่ดินเป็นเลนและที่ดินกร่อยชุ่มชื้น เป็นต้น หากผู้ปลูกสมุนไพรเข้าใจสิ่งเหล่านี้จะทำให้สามารถเลือกวิธีปลูกและจัดสภาพแวดล้อมของต้นไม้ได้เหมาะสมพืชสมุนไพรก็จะเจริญเติบโตดี เป็นผลทำให้คุณภาพพืชสมุนไพรที่นำมารักษาโรคมีฤทธิ์ดีขึ้นด้วย
การปลูกและการบำรุงรักษาพืชสมุนไพร โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ยังไม่จริงจังเท่าที่ควร บางประเทศได้ทดลองเพื่อหาคำตอบว่า สภาพแวดล้อมอย่างไรจึงจะทำให้สาระสำคัญในพืชสมุนไพรชนิดนั้น ๆ มากที่สุด ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือมากกว่าหนึ่งหน่วยงาน หรือการหาคำตอบว่าวิธีการขยายพันธุ์พืชสมุนไพรแต่ละชนิดจะทำอย่างไร จึงจะเหมาะสมและประหยัดมากที่สุด ในประเทศไทยหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีงานวิจัยด้านนี้อยู่บ้างและกำลังค้นคว้าไปต่อไป การปลูกพืชสมุนไพรเป็นการนำเอาส่วนของพืช เช่น เมล็ด หน่อ กิ่ง หัว ผ่านการเพาะหรือการชำหรือวิธีการอื่นๆ ใส่ลงในดิน หรือวัสดุอื่น เพื่อให้งอกหรือเจริญเติบโตต่อไป
ลักษณะการปลูกพืชสมุนไพร
1.การปลูกพืชสมุนไพรบนพื้นดิน หมายถึงการนำเอาพันธุ์ไม้มาปลูกในสถานที่ที่เป็นพื้นดิน ถ้าพันธุ์ที่ปลูกเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่ม จะปลูกเป็นต้น ๆ ไป โดยขุดหลุมให้มีขนาดกว้างและยาว ประมาณ 1 เมตร ลึกประมาณ 70 เซนติเมตร เวลาขุดเอาดินบนกองไว้ข้างหนึ่ง เอาดินล่างกองไว้อีกข้างหนึ่ง เสร็จแล้วหาหญ้าแห้ง ฟางแห้งและปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมาใส่ลงในหลุมพอประมาณ แล้วเอาดินบนใส่ลงไปประมาณครึ่งหลุม เพราะดินบนมีความอุดมสมบูรณ์กว่า จากนั้นคลุกเคล้าดินที่เหลือกับปุ๋ยให้เข้ากันดีนำใส่ลงในหลุมและนำต้นไม้ลงปลูกหลุมละ 1 ต้น กดดินให้แน่นพอควร หากพืชต้นสูงก็ควรหาไม้มาปักค้ำยันจนกว่าจะตั้งตัวได้ พืชสมุนไพรส่วนใหญ่จะใช้ปลูกโดยวิธีนี้เนื่องจากพืชสมุนไพรส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น เช่น ต้นสะเดา,ชุมเห็ดเทศ,เพกา เป็นต้น
2.การปลูกในแปลง เตรียมดินโดยการขุดดินและยกร่องให้เป็นแปลงขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 4 เมตร พืชสมุนไพรที่ใช้ปลูกโดยวิธีนี้มักเป็นพืชต้นเล็ก อายุสั้นเพียงฤดูเดียวหรือ สองฤดู เช่น ต้นกะเพรา, หอม, กระเทียม, ฟักทอง เป็นต้น
3.การปลูกในภาชนะ ปลูกโดยใช้ดินที่ผสมแล้ว มีผลดีคือสามารถเคลื่อนย้ายได้ตามความพอใจ ดูแลรักษาง่าย พืชที่นิยมใช้ปลูกเช่น ต้นฟ้าทะลายโจร, ว่านมหากาฬ, เสลดพังพอน เป็นต้น
ในการปลูกต้นไม้ในภาชนะในบ้านเรา ส่วนใหญ่ใช้กระถางดินเผาเพราะหาได้ง่ายและมีหลายขนาดให้เลือกหรือจะใช้ถุงดำก็จะประหยัดมากขึ้น
การปลูกทำได้หลายวิธี คือ                                                 
การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง วิธีนี้ไม่ต้องเพาะเป็นต้นกล้าก่อน นำเมล็ดมาหว่านลงแปลงได้เลย หลังจากนั้นใช้ดินร่วน หรือทรายหยาบโรยทับบาง ๆ รดน้ำให้ชื้นตลอดทั้งวัน เมื่อเมล็ดงอก เป็นต้นอ่อนจึงถอนต้นอ่อนแอออก เพื่อให้มีระยะห่างตามสมควร ปกติมักใช้ในการปลูกผักหรือพืชล้มลุกและพืชอายุสั้น เช่น กะเพรา โหระพา
ส่วนการหยอดลงหลุมโดยตรง มักใช้กับพืชที่มีเมล็ดใหญ่ เช่น ฟักทอง โดยหยอดในแต่ละหลุมมากกว่าจำนวนต้นที่ต้องการ แล้วถอนออกภายหลัง
การปลูกด้วยต้นกล้าหรือกิ่งชำ ปลูกโดยการนำเมล็ดหรือกิ่งชำ ปลูกให้แข็งแรงดีในถุงพลาสติก หรือในกระถางแล้วย้ายไปปลูกในพื้นที่ที่ต้องการ การย้ายต้นอ่อนจากภาชนะเดิมไปยังพื้นที่ที่ต้องการต้องไม่ทำลายราก ถ้าเป็นถุงพลาสติกก็ใช้มีดกรีดถุงออกถ้าเป็นกระถางถอดกระถางออกโดยใช้มือดันรูกลมที่ก้นกระถาง ถ้าดินแน่นมาก ให้ใช้เสียมแซะดินแล้วใช้น้ำหล่อก่อน จะทำให้ถอน ง่ายขึ้น หลุมที่เตรียมปลูกควรกว้างกว่ากระถางหรือถุงพลาสติกเล็กน้อย จึงทำให้ต้นอ่อนเจริญเติบโตได้สะดวก วางต้นไม้ให้ระดับรอยต่อระหว่างลำต้นกับราก อยู่เสมอกับระดับขอบหลุม พอดีแล้วกลบด้วยดินร่วนซุยหรือดินร่วนปนทราย กดดินให้แน่นพอประมาณ นำเศษไม้ใบหญ้ามาคลุมไว้รอบโคนต้น เพื่อรักษาความชุ่มชื้นและป้องกันแรงกระแทกเวลารดน้ำ หาไม้หลักซึ่งสูงมากกว่าต้นไม้มาปักไว้ข้าง ๆ ผูกเชือกยึดกับต้นไม้ คอยพยุงไม้ให้ต้นไม้ล้มหรือโยกคลอนได้ ปกติใช้กับต้น คูน แคบ้าน ชุมเห็ดเทศ สะแก ขี้เหล็ก เป็นต้น หรือใช้กับพันธุ์ไม้ที่งอกยากหรือมีราคาแพง จึงจำเป็นต้องเพาะเมล็ดก่อน
การปลูกด้วยหัว ปกติจะมีหัวที่เกิดจากรากและลำต้น เรียกชื่อแตกต่างกัน ในที่นี้จะรวมเรียกเป็นหัวหมด โดยไม่แยกรายละเอียดไว้
สำหรับการปลูกไม้ประเภทหัว ควรปลูกในที่ระบายน้ำได้ดี มิฉะนั้นจะเน่าได้ การปลูกก็โดยการฝังหัวให้ลึกพอประมาณ (ปกติลึกไม่เกิน 3 เท่า ของความกว้างหัว) กดดินให้แน่นพอสมควร คลุมแปลงปลูกด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง เช่น การปลูกหอม กระเทียม การปลูกด้วยหน่อหรือเหง้านั้น อ่านรายละเอียดในการขยายพันธุ์พืชสมุนไพรทบทวนได้ในใบความรู้ลำดับที่ 7
การปลูกด้วยไหล ปกตินิยมเอาส่วนของไหลมาชำไว้ก่อน แล้วจึงย้ายปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้อีกครั้งหนึ่ง เช่น บัวบก แห้วหมู
การปลูกด้วยจุก หรือตะเกียง โดยการนำจุกหรือตะเกียง มาชำไว้ในดินที่เตรียมไว้ โดยให้ตะเกียงตั้งขึ้นตามปกติ กลบดินเฉพาะด้านล่าง เช่นสับปะรด
การปลูกด้วยใบ เหมาะสำหรับพืชที่มีใบหนาใหญ่และแข็งแรง คล้ายกับการปลูกด้วยส่วนของกิ่งและลำต้น คือการตัดใบไปปักหรือวางบนดินที่ชุ่มชื้นให้เกิดต้นใหม่ เช่น ว่านลิ้นมังกร
             การปลูกด้วยราก โดยตัดส่วนของรากไปปักชำให้เกิดต้นใหม่ เช่น ดีปลี เป็นต้น
                การปลูกด้วยหน่อหรือเหง้า ในกรณีที่มีต้นพันธุ์อยู่แล้วทำการแยกหน่อที่แข็งแรง โดยตัดแยกหน่อจากต้นแม่ นำหน่อที่ได้ มาตัดรากที่ช้ำหรือใบที่มากเกินไปออกบ้าง แล้วจึงนำไปปลูกในดินที่เตรียมไว้ กดดินให้แน่นและรดน้ำให้ชุ่ม ควรบังร่มเงาให้จนกว่าต้นจะแข็งแรง

สำหรับการปลูกพืชสมุนไพรในกระถางมีขั้นตอนในการปลูกพืช ดังนี้
1.   ก่อนที่จะปลูกต้นไม้ลงในกระถาง จะต้องเลือกกระถางให้มีขนาดที่พอเหมาะกับต้นไม้นั้น เมื่อได้กระถางมาแล้ว ก็ใช้เศษกระถางแตกขนาดประมาณ 2-3 นิ้ว วางปิดรูก้นกระถาง ทุบอิฐมอญเป็นก้อนเล็ก ๆ ใส่ลงก้นกระถางให้สูงประมาณ 1 นิ้วเพื่อช่วยให้เก็บความชื้นและระบายน้ำได้ดีขึ้น
2.  ใช้ดินที่ผสมแล้วใส่ลงไปประมาณครึ่งกระถาง นำต้นไม้วางลงตรงกลางแล้วใส่ดินผสมลงในกระถางจนเกือบเต็ม โดยให้ต่ำกว่าขอบกระถาง 1 นิ้ว กดดินให้แน่นพอประมาณ เพื่อไม่ให้ต้นไม้ล้ม
3.  รดน้ำให้ชุ่มแล้วยกวางในร่มหรือในเรือนเพาะชำจนกว่าต้นไม้จะทรงตัว แล้วจึงยกออกวางกลางแจ้งได้


วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

วิธีการเก็บสมุนไพรไทย

วิธีการเก็บสมุนไพรส่วนที่ใช้เป็นยา
             พืชสมุนไพร มีมากมายบางทีก็อาจจะเอาเปลือกของลำต้นมาใช้ประโยชน์ในการทำเป็นยา หรือบางชนิดก็เอาดอกมาทำเป็นยาแต่บางอย่างอาจจะต้องใช้ใบก็ได้หรืออาจจะเอาส่วนของรากมาทำเป็นยาก็มี ด้วยเหตุนี้เองการเลือกส่วนที่จะเอามาใช้ประโยชน์จึงมีความสำคัญมากเช่นเดียวกัน จะเก็บอย่างไรจึงจะถูกวิธีหรือทำให้คุณค่าทางยามากที่สุดไม่เสียหายสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เห็นจะได้แก่ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บ พืชสมุนไพรเอามาเป็นยานั้นเอง การเก็บส่วนของพืชสมุนไพรเอามาทำเป็นยานั้นถ้าเก็บในระยะเวลาที่ไม่เหมาะก็มีผลต่อการออกฤทธิ์ในการรักษาโรค ของสมุนไพรได้นอกจากจะต้องคำนึงถึง เรื่องช่วงเวลาในการเก็บยาเป็นสำคัญแล้วยังจะต้องคำนึงถึงว่าการเก็บยานั้นถูกต้องหรือไม่ ส่วนไหนของพืชใช้ เป็นยารู้หรือเปล่าดินที่ปลูกพืชสมุนไพรอากาศ เป็นอย่างไร การเลือกเก็บส่วนที่เป็นยาอย่างถูกวิธีการนั้น จะมีผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพของยาที่จะนำมารักษาโรคหากปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป ปริมาณตัวยาที่มีอยู่ในสมุนไพรนั้นๆก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ทำให้ยาที่ได้มานั้นไม่เกิดผลดีในการบำบัดรักษาโรคได้เท่าที่ควร
หลักการโดยทั่วไปในการเก็บส่วนของพืชสมุนไพรแบ่งออกได้ดังนี้
1.เก็บรากหรือหัว
สมควรเก็บในช่วงเวลาที่พืชหยุดการเจริญเติบโต ใบ ดอกร่วงหมดแล้วหรือในช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน เพราะเหตุว่าในช่วงเวลานี้ รากและหัวมีการสะสมปริมาณตัวยาเอาไว้ค่อนข้างสูงวิธีการเก็บก็จะต้องใช้วิธีขุดด้วยความระมัดระวังให้มาก อย่าให้รากหรือหัวเกิดการเสียหายแตกช้ำ หักขาดขึ้นได้รากหรือหัวของพืชสมุนไพรก็มี ข่า กรชาย กระทือ ขิง เป็นต้น
2.ประเภทใบหรือเก็บทั้งต้น

ควรจะเก็บใบที่เจริญเติบโตมากที่สุดหรือพืชบางอย่างอาจระบุช่วงเวลาเก็บอย่างชัดเจน เก็บใบอ่อนหรือไม่แก่เกินไป เก็บช่วงดอกหรือบานหรือช่วงเวลาที่ดอกบานเป็นต้น การกำหนดช่วงเวลาที่เก็บใบเพราะช่วงเวลานั้น ในใบมีตัวยามากที่สุดวิธีการเก็บก็ใช้วิธีเด็ด ตัวอย่างเช่น ใบกระเพรา ใบฝรั่ง ใบฟ้าทะลาย เป็นต้น
3.ประเภทเปลือกต้นหรือเปลือกราก
เปลือกต้นโดยมากเก็บช่วงฤดูร้อนต่อกับช่วงฤดูฝนประมาณยาในพืชสมุนไพรมีสูงและลอกออกได้ง่ายสะดวกในการลอก เปลือกต้นนั้นอย่าลอกเปลือกออกทั้งรอบต้นเพราจะกระทบกระเทือนในการส่งลำเลียงอาหารของพืชจะทำให้ตายได้ทางที่ดีควร ลอกเปลือกกิ่งหรือส่วนที่ เป็นแขน่งย่อยไม่ควรลอกออกจากล้าต้นใหญ่ของต้นไม้หรือจะใช้วิธีลอกออกในลักษณะครึ่งวงกลมก็ได้ ส่วนเปลือกรากเก็บในช่วงฤดูฝน เหมาะมากที่สุด เนื่องจากการลอกเปลือกรากเป็นผลเสียต่อการเจริญเติบโต ของพืชควรสนใจ วิธีการเก็บที่เหมาะสมจะดีกว่า

4.ประเภทดอก
โดยทั่วไปเก็บในช่วงดอกเริ่มบาน แต่บางชนิดเก็บในช่วงดอกตูม เช่น กานพลู เป็นต้น
5.ประเภทผลและเมล็ด
พืชสมุนไพรบางอย่างอาจจะเก็บในช่วงที่ผลยังไม่สมบูรณ์หรือยังไม่สุกก็มี เช่น ฝรั่งเก็บเอาผลอ่อนมาเป็นยาแก้ท้องร่วง แต่โดยทั่วไปมักเก็บเมื่อผลแก่เต็มที่แล้ว ตัวอย่างเช่น มะแว้ต้น มะแว้งเครือ ดีปลี เมล็ดฟักทอง เมล็ดชมเห็ดไทย เมล็ดสะแก เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ตัวอย่างสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณในการป้องกันและบรรเทาอาการหวัด


- กระเทียม มีสาร "อัลลิซิน" (allicin) ซึ่งมีกลิ่นฉุน ฆ่าเชื้อได้ ส่วนกระเทียมโทน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้ดีกว่า "เพนนิซิลลิน" และ "เตตร้าซัยคลิน" ที่เป็นยาฆ่าเชื้อ (ยาปฏิชีวนะ) ที่ใช้โดยทั่วไป นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อที่เป็นสาเหตุของท้องเสีย แผลติดเชื้อ วัณโรค ไทฟอยด์ และกลากเกลื้อน


 - ขิง มีสารประกอบให้รสเผ็ดอร่อยอย่าง "จินเจอรอล" และ "โชกาออล" ช่วยบรรเทาหวัดและไข้หวัดใหญ่ ซึ่งสามารถนำมาปรุงผ่านความร้อนหรือรับประทานสด นอกจากนี้ยังบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้และวิงเวียนศีรษะได้อีกด้วย


- มะขามป้อม ในส่วนที่กินได้ 100 กรัม มะขามป้อมมีวิตามินซี 276 มิลลิกรัม สามารถนำเนื้อผลแห้งหรือสดมารับประทานเพื่อขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ นอกจากนี้ ถ้านำผลแห้งมาต้มดื่มจะช่วยแก้ไข้


 - กะหล่ำปลี ถ้าดิบจะมีวิตามินซีสูงที่สุด โดยเฉพาะกะหล่ำดาวที่ 1 ถ้วย มีวิตามินซีถึง 97 มิลลิกรัม แถมยังมีสารต้านมะเร็งหลายตัว ช่วยลดโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ได้ โดยรับประทานได้ทั้งสดและปรุงสุก แต่ไม่ควรกินแบบสดๆ ในปริมาณมากๆ เพราะสาร "กอยโตรเจน" (Goitrogen) จะไปขัดขวางการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้ร่างกายขาดไอโอดีน หากปรุงสุกกอยโตรเจนจะสลายไป


 - ฟ้าทะลายโจร เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมในการบรรเทาและรักษาอาการเจ็บคอ ซึ่งเคยมีการศึกษาระบุถึงประสิทธิผลในการบรรเทาอาการหวัด ต่อมทอนซิลอักเสบ มีคุณสมบัติแก้ไข้ และต้านการอักเสบ เนื่องจากมีสาร "แอนโดรกราโฟไลด์" เป็นส่วนประกอบสำคัญ
เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันการแพทย์แผนไทยทดลองให้ยาเม็ดสารสกัด
ฟ้าทะลายโจรแก่ผู้ป่วยไข้หวัด พบว่าอาการไอ เสมหะ น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดหู นอนไม่หลับและเจ็บคอลดลง


 - พริก มีวิตามินซีและสารที่ทำให้เกิดรสเผ็ดที่เรียกว่า "แคปไซซิน" (Capsaicin) ช่วยบรรเทาให้ระบบทางเดินหายใจโล่งขึ้นและโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังลดลง
นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและกระตุ้นการสร้างสาร "ไนตริกออกไซด์" ที่ช่วยขยายและเสริมสร้างความแข็งแรงให้หลอดเลือด ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย

สมุนไพรไทยจึงไม่เพียงช่วยเพิ่มรสอร่อยในอาหาร หากยังช่วยต้านโรคภัยได้อย่างมหัศจรรย์
 

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สมุนไพรไทย กับการลดน้ำหนัก อย่างปลอดภัย

การรับประทานอาหารมากเกินความต้องการ   ร่างกายก็จะเปลี่ยนสารอาหารส่วนที่เกิดนั้นไว้ในรูปของไขมัน   สะสมตามสะโพก   ต้นขา  เป็นต้น  การเป็นคนอ้วนก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในตนเอง  และยังมีโรคแทรกซ้อนอีกเช่น  ข้อเสื่อม เบาหวาน ความดันโลหิตสูง การดูแลสุขภาพให้ดีตั้งแต่การควบคุมอาหารและออกกำลังกาย
          หากจำเป็นต้องพึงยาลดความอ้วนนอกเหนือจากยาแผนปัจจุบันแล้ว  ด้านความปลอดภัยสมุนไพรเพื่อช่วยลดน้ำหนักก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง  ที่กำลังนิยมกันเนื่องจากความเชื่อมั่นเกี่ยวกับความปลอดภัย กลุ่มของพืชสมุนไพรไทย หรือวัตถุดิบก่อนนำมาสกัดเป็นยานั้น มีหลายอย่างด้วยกัน ดังนี้ คือ
          ใบมะขามแขก  :  ช่วยระบายท้อง โดยอาศัยผลข้างเคียงของระบายท้องทำให้น้ำหนักลดได้  เนื่องจากการเคลื่อนไหวตัวของลำไส้ที่มากๆ  จะทำให้อาหารและไขมันดูดซึมได้น้อยลง
          เมล็ดเทียนเกล็ดหอย  :  พืชที่ให้ใยอาหาร ซึ่งจะพบว่าทำให้โคเลสเตอร์รอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ในกระแสโลหิตลดลง   และมีสารไฟเบอร์ธรรมชาติ  ซึ่งมีโมเลกุลขนาดใหญ่ช่วยเป็นกากอาหารและโดยโครงสร้าง ของไฟเบอร์เองก็จะดูดขับสารอาหารที่มีขนาดเล็กกว่าไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย
          เนื้อในฝักคูณ  :  ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ  ปัจจุบันพบว่ามีสารแอนทราควิโนน ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ และมีฤทธิ์ลดไขมันในเส้นเลือดได้
          การนำสมุนไพรหลายๆ  ตัวเข้ามารวมกัน  เพือเป็นการเสริมฤทธิ์กัน  และเพื่อลดอาการข้างเคียง จึงมีการเติมกากพลูช่วยขับลมไปด้วย จึงไม่มีอาการปวดมวนท้อง เป็นยาระบายอ่อน   นอกจากนี้เพื่อเป็นการง่ายต่อการรับประทาน  ได้ผ่านกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่สกัดออกมา ทั้งชนิดเม็ด และแค๊ปซูล หาซื้อง่ายตามร้านขายยาทั่วไป
          เท่านี้คุณก็สามารถลดความอ้วน อย่างปลอดภัย ด้วยสมุนไพร

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ใช้สมุนไพรไทย ปรับธาตุให้สมดุล


      เอ่ยชื่ออาจารย์ประกอบ อุบลขาว ในแวดวงการแพทย์แผนไทยล้วนรู้จักท่านเป็นอย่างดี ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์หมอแผนไทยทางภาคใต้ ซึ่งมีลูกศิษย์ลูกหามากมายทั่วประเทศ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้มีโอกาสเจออาจารย์ ก็ได้ถามท่านว่าหมอแผนไทยจะรับมืออย่างไรดีกับไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งอาจารย์แนะว่าให้ใช้ยาปรับธาตุตามฤดูกาลบำรุงร่างกาย  อย่างในฤดูฝนก็ดื่มน้ำตรีกฏุกเป็นหลัก ขับไล่ลมให้เดินสะดวก ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ปกติ ร่างกายก็แข็งแรงไม่เจ็บไม่ป่วย หรือแนะดื่มน้ำตะไคร้ ช่วยขับลม ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยขับสิ่งไม่พึงประสงค์ที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายออกทางเหงื่อและปัสสาวะ เป็นหลักการง่ายๆ ปรับธาตุเจ้าเรือนให้สมดุล ใช้เครื่องดื่มสมุนไพรและอาหารผักพื้นบ้านให้สอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือนและฤดูกาล
          ธาตุดิน เกิดเดือน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม  กิน ฝาด หวาน มัน เค็ม     
          ธาตุน้ำ เกิดเดือน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน กิน เปรี้ยว ขม     
          ธาตุลม เกิดเดือน เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กิน เผ็ดร้อน     
          ธาตุไฟ เกิดเดือน มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม กิน ขม เย็น จืด 
ฤดูฝน เจ็บป่วยจากธาตุลม ปวดเมื่อยเนื้อตัว ขับถ่ายไม่ออก หายใจติดขัด แน่นหน้าอก แนะกินน้ำขิง ตะไคร้ กระชาย หรือผัดฉ่า ผัดขิง ต้มยำน้ำใส ปรับธาตุลมให้เดินสะดวก ขับเคลื่อนการทำงานของธาตุอื่นๆ
ฤดูหนาว เจ็บป่วยจากธาตุน้ำ อากาศเย็น ทำให้หายใจเอาความเย็นเข้าไป เกิดปอดบวม เป็นไข้หวัดได้งาย เสมหะกำเริบ ใช้รสเปรี้ยวของน้ำส้ม มะนาว กระเจี๊ยบ หรืออาหารประเภทยำที่มีรสเปรี้ยวนำ ปรับธาตุน้ำ      
ฤดูร้อน เจ็บป่วยจากธาตุไฟเป็นเหตุ มักร้อนใน กระหายน้ำ เบื่ออาหาร ใช้รสขมบำรุงธาตุไฟ อย่างน้ำใบบัวบก หรือร้อนเกินไปใช้น้ำที่มีรสเย็น จืด ดับไฟ เช่น แตงโม อาหารที่เด่นในฤดูนี้ก็มีข้าวแช่       
 หรือในระหว่างวันตลอด 24 ชั่วโมงก็ยังแบ่งย่อยได้อีก สามารถเลือกหาน้ำสมุนไพรปรับธาตุในประจำวันได้ คือ
ช่วงเช้าเวลา 06.00 - 10.00 น. มักมีอาการของธาตุน้ำกำเริบ เช่น เจ็บคอ มีเสมหะเหนียวข้น แนะดื่มน้ำที่มีรสเปรี้ยวปรับ 
ช่วงสายเวลา 10.00 - 14.00 น. เป็นเวลาที่ธาตุไฟทำงาน น้ำย่อยเรียกหาอาหาร ก็ต้องกินอาหารให้ตรงเวลา ธาตุไฟในร่างกายโดดเด่นกว่าธาตุอื่น อาจใช้น้ำสมุนไพร ใบบัวบก ใบเตย ปรับธาตุ     
ช่วงเวลา 14.00 - 18.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลมมาแทนที่ ได้เวลาลมสว้าน แน่นหน้าอก หาวเรอ ลมพิการ ไม่อยากทำงานอยากนอนท่าเดียว แน่นหน้าอกมากเข้าก็พานลมจับ ก็ต้องใช้น้ำที่มีรสเผ็ดร้อนอย่าง ขิง ข่า ตะไคร้ ตามใจชอบ หรือละลายยาหอมชงดื่มช่วยให้ลมทำงาน     
           หลักการอย่างนี้แนะตามหลักทฤษฎีการแพทย์แผนไทย ดูเหมือนจะป่วยแต่ไม่ป่วย ซึ่งถ้าเข้าใจในหลักการดูแลสุขภาพตนเอง ก็สามารถเลือกหาเครื่องดื่มหรืออาหารช่วยตัวเองได้ด้วยวิธีง่ายๆ
      สำหรับเทคนิคการดูแลสุขภาพ แนะนำให้ใช้สมุนไพรที่หาได้ง่ายๆ ไม่ต้องใช้ตัวยาหลายตัว ได้แก่
 ปวดตามข้อ ใช้กระเทียมดองน้ำผึ้งอย่างน้อย 7 วัน กินวันละ 5 - 6 กลีบ
 แก้ปวดหัวข้างเดียว (ไมเกรน) กระเทียม 10 - 20  กลีบ กินสด
โรคหอบ เอาใบมะขาม 3 ถ้วย หัวกระเทียม 1 ถ้วย พริกไทย 1 ถ้วย ยาดำ 1 ถ้วย เกลือทะเล 1 ถ้วย เถาบอระเพ็ด 1 ถ้วย ตำให้แหลกปั้นเป็นเม็ดกิน
นอนไม่หลับ เอาผิวมะกรูด รากชะเอม เฉียงพร้า ไพล ขมิ้นอ้อย น้ำหนักเท่ากัน บดเป็นผงชงละลายน้ำร้อนหรือต้มรับประทาน
 ความดันโลหิตสูง เอาตะไคร้ทั้งใบ ต้น ราก จำนวน 5 ต้นต้มกิน
 มีอาการขี้หลงขี้ลืม เอาพริกไทยขาวบดชงกับน้ำร้อนกิน
 แก้เหนื่อยมาก เอาใบมะกอกเพสลาด 1 กำมือ ตำให้แหลกผสมน้ำซาวข้าว คั้นเอาน้ำกิน
 แก้ทอนซิลอักเสบ เอาใบหนุมานประสานกาย 7 ใบ ต้มกินน้ำหรือเคี้ยวอม
 ปัสสาวะไม่ออก เอาผักบุ้งแดงต้มกับน้ำตาลทรายแดงกิน    
           ภูมิปัญญาชาวบ้านอันน่าทึ่งหลายๆ เรื่อง ได้แก่ ดับเปรี้ยวด้วยรสเปรี้ยว เนื้อมะขามแพ้น้ำมะนาว สับปะรดเปรี้ยวแพ้น้ำส้มสายชู ใช้น้ำมันมะพร้าวทาที่สันจมูกแก้อาการหายใจไม่ออก ถ้าถูกหมามุ่ยคันให้กินลูกมะขามป้อมแก้ และน้ำส้มสายชูนอกจากให้ความเปรี้ยวยังได้ประโยชน์หลายอย่าง สะอึกไม่หยุดให้ดื่มน้ำส้มสายชู 1 ถ้วยเล็ก นอนไม่หลับ ใช้น้ำสุกเย็น 1 ถ้วย ใส่น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ ดื่มก่อนเข้านอนจะหลับสบาย เมารถเมาเรือ เหยาะน้ำส้มสายชูลงในน้ำดื่ม หายจากอาการเมา และถ้าเป็นกลากเกลื้อน ใช้น้ำส้มสายชูทาวันละ 3 ครั้งจนหาย